คอง 14
Wd. M. Rudrakul
คอง
เป็นคำอีสานมาจากคำว่า
คลอง
ปรากฏในภาษาธิเบตพม่า
(กลุง
กลอง
ขโยง)
ขอมโบราณ
(ฆลอง
หรือ
คลอง)
และภาษาไต-ลาว
(คลอง
หรือ
คอง)
มีความหมายว่า
แนวทาง
หรือ
ธารน้ำ
เช่น
ทำนองคลองธรรม
ต่อมาแผลงเป็น
ครรลอง
คือ
ครรลองธรรม
ส่วนถอยหลังเข้าคลอง
หมายถึงย้อนไปยุคหลังไม่พัฒนา
เป็นต้น
(สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี,
2565, ออนไลน์ และราชบัณฑิตยสถาน, 2554, ออนไลน์)
ดังนั้นคอง 14 จึงแปลว่า คลองธรรมทั้ง 14
อันเป็นแนวทางในการปฏิบัติของชาวไตทั้งหลาย โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ม.ป.ป., ออนไลน์) ได้สรุปคอง 14 ไว้ถึง 4 แนวทาง แต่เฉพาะ คอง 14
โดยนัยที่ 1 เท่านั้น สามารถเทียบตามหลักธรรมและวรรณกรรมไทยต่าง ๆ ได้ คือ
1. ฮีตเจ้าคองขุน
สําหรับกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองปกครองอํามาตย์ ขุนนางข้าราชบริพาร
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น ทศรถสอนราม, ทศพิธราชธรรม
2. ฮีตเจ้าคองเพีย
สําหรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในการปกครองข้าทาสบริวาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น
พาลีสอนน้อง ธรรมาภิบาล
3. ฮีตไพร่คองนาย
สําหรับประชาชนในการปฏิบัติตนตามกบิลบ้านเมืองและหน้าที่พึงปฏิบัติต่อนาย
วรรณกรรมที่เกี่ยวของ ทุคคตะสอนบุตร กฎหมายตราสามดวง กฎหมายเม็งราย
4. ฮีตบ้านคองเมือง
วัตรอันพึงปฏิบัติตามธรรมเนียมทั่วไปของพลเมืองต่อบ้านเมืองและส่วนร่วม
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตอิศรญาณ หลักทิศทั้ง 10
ตามพุทธศาสนา
5. ฮีตผัวคองเมีย
หลักปฏิบัติต่อกันของสามีภรรยา วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น สุภาษิตสอนหญิง
สุภาษิตสอนชาย กฤษณาสอนน้อง
6. ฮีตพ่อคองแม่
หลักปฏิบัติของผู้ครองเรือนต่อลูกหลาน เช่น คัมภีร์ปฐมจินดา ตำราแม่ซื้อ
หลักพรหมวิหาร 4
หลักทิศทั้ง 10
ตามพุทธศาสนา
7. ฮีตลูกคองหลาน
หลักปฏิบัติของลูกหลานต่อบุพการี วรรณกรรมที่เกี่ยวของ เช่น สุภาษิตสอนเด็ก
8. ฮีตใภ้คองเขย
หลักปฏิบัติของสะใภ้ต่อญาติผู้ใหญ่และพ่อแม่สามี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น
สุภาษิตสอนหญิง กฤษณาสอนน้อง
9. ฮีตป้าคองลุง
หลักปฏิบัติของลุง ป้า น้า อา ต่อลูกหลาน หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น พรหมวิหาร 4
10. ฮีตปู่คองย่า
ตาคองยาย หลักปฏิบัติของปู่ย่า ตายาย ให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรต่อลูกหลาน
หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น พรหมวิหาร 4
11. ฮีตเฒ่าคองแก่
หลักปฏิบัติของผู้เฒ่าในวัยชราให้เป็นที่เคารพเลื่อมในเหมาะสม
หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น พรหมวิหาร 4
12. ฮีตปีคองเดือน
การปฏิบัติตามจารีตประเพณีต่าง ๆ ในฮีตสิบสอง วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น
พระราชพิธี 12
เดือน ฮีต 12 คอง
14
วิถีชาวบ้าน
13. ฮีตไฮ่
(ไร่) คองนา การปฏิบัติตามประเพณีเกี่ยวกับการทําไร่ทํานา วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำราการทำนา
14. ฮีตวัดคองสงฆ์
หลักปฏิบัติของภิกษุสามเณรให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยทั้งการช่วยทํานุบํารุงวัดวาอาราม
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง นวโกวาท
โดยในบางตำราจะเอาฮีตผัวคองเมียออก แล้วเพิ่มอันดับที่
14 เป็น
14 ฮีตสมบัติคูณเมือง โดยแบ่งตามคำว่าเมืองตามองค์ประกอบของเมืองในทัศนะของคนไทย
(กระทรวงวัฒนธรรม, 2565, ออนไลน์) คือ
2. ตาเมือง เป็นนักปราชญ์ มีความรอบรู้ในวิชาการบ้านเมือง รู้หลักธรรม
3. แก่นเมือง เป็นผู้ทรงคุณธรรม ยุติธรรม
4. ประตูเมือง เป็นผู้มีความสามารถในการใช้ศัตราวุทยุทธโธปกรณ์
5. รากเมือง เป็นผู้รอบรู้ในด้านโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์
6. เหง้าเมือง เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์
7. ขางเมือง เป็นผู้ชำนาญในการออกแบบ ชำนาญในการศึก
8. ขื่อเมือง เป็นผู้มีตระกูลเป็นนักปราชญ์ผู้กล้าหาญ
9. แปเมือง เป็นผู้มีศีลธรรมอันดี ตัดสินคดีความเที่ยงธรรม
10. เขตเมือง เป็นผู้ทำหน้าที่พิทักษ์เขตเมือง รักษาเขตแดนบ้านเมือง
11. ใจเมือง เป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองที่ดี
12. ค่าเมือง เป็นผู้พิทักษ์รักษาให้เมืองมีค่า มีเงินทอง ติดต่อค่าขาย
13. สติเมือง เป็นผู้รู้จักการรักษาพยาบาล หมอยา
14. เมฆหมอกเมือง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ประดุจเทพอารักษ์พิทักษ์เมืองเป็นหลักเมืองการถือคองสิบสี่ประการนี้นับเป็นการรักษาบ้านครองเรือนมีศีลธรรม
โดยบางปราชญ์ชาวบ้านบ้างท่านก็ถือเอาเฉพาะ ฮีตสมบัติคูณเมือง นี้เป็น คอง 14 คู่กับ ฮีต 12 เป็น ฮีต 12 คอง 14
อ้างอิง
กระทรวงวัฒนธรรม.
(2565). ฮีต 12 คอง 14 [ออนไลน์]. กระทรวงวัฒนธรรมและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ,
สืบค้นวันที่ 2 พฤษภาคม 2567. จาก tapreeyakorn:
http://www.m-culture.in.th/album/178141/ประเพณีฮีตสิบสอง_คองสิบสี่
ราชบัณฑิตยสถาน.
(2554). คลอง
[ออนไลน์]. สืบค้นวันที่
2 พฤษภาคม
2567. จาก
http:// legacy.orst.go.th/?knowledges =คลอง-๑๕-ธันวาคม-๒๕๕๔#:~:text=คำว่า
%20คลอง%20หมายถึง,หลอด%20คลองบางกอกน้อย%20คลองชลประทาน.
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ม.ป.ป.).
คอง 14 โดยนัยที่ 1 [ออนไลน์].
องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม, ประเพณีท้องถิ่น
สืบค้นวันที่ 2 พฤษภาคม 2567. จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021/information/คอง-14-โดยนัยที่-1/
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี.
(2565). ฮีต
12 คอง 14 [ออนไลน์].
องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม,
ประเพณีท้องถิ่น
สืบค้นวันที่ 2 พฤษภาคม
2567. จาก
https://www2.m-culture.go.th/ubonratchathani/ewt_dl_link.php?nid=1259
Comments
Post a Comment